สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล
สถาบันขงจื่อในประเทศไทย
เพื่อสนองความต้องการของประชาชนทั่วโลกในการเรียนภาษาจีนและวัฒนธรรมจีน สำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (Office of Chinese Language Council International หรือ Hanban : ฮั่นปั้น) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลจีนที่รับผิดชอบในการสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศต่างๆ จึงได้ก่อตั้งสถาบันขงจื่อขึ้นทั่วโลกและสถาบันขงจื่อจะเป็นองค์กรที่ดำเนินการเรียนการสอนภาษาจีนโดยไม่แสวงหาผลกำไร มีสำนักงานใหญ่ของสถาบันขงจื่อตั้งอยู่ ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
หลังจากปี พ.ศ. 2548 สถาบันขงจื่อและห้องเรียนขงจื่อได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศต่างๆ โดยสถาบันขงจื่อจะจัดตั้งอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา ส่วนห้องเรียนขงจื่อจะจัดตั้งอยู่ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาซึ่ง Hanban จะจัดส่งอาจารย์สอนภาษาจีนและอาจารย์อาสาสมัครชาวจีนไปสอนในสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมศึกษา ปัจจุบันมีสถาบันขงจื่อจาก 134 ประเทศทั่วโลก แยกเป็นสถาบันขงจื่อ 500 แห่งและห้องเรียนขงจื่อ 1012 แห่ง
สาเหตุที่ตั้งชื่อว่าสถาบันขงจื่อ เนื่องจาก “ขงจื่อ” เป็นทั้งนักการศึกษา นักคิด และนักปรัชญา ที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์จีน ความคิดและปรัชญาของท่านมีความสำคัญมากและมีอิทธิพลอยู่ทั่วโลก ดังนั้นการตั้งชื่อสถาบันว่าขงจื่อนั้นเป็นการแสดงถึงวัฒนธรรมและภาษาจีนที่มีความล้ำลึกและได้สืบทอดต่อกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน
องค์กรบริหารงานสถาบันขงจื่อในจีน ประกอบด้วย- สำนักงานใหญ่ของสถาบันขงจื่อ มีสถานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่แส
- วงหาผลกำไร
- คณะกรรมการสถาบันขงจื่อ โดยรัฐบาลจีนเป็นผู้แต่งตั้ง ประธาน รองประธานและกรรมการบริหาร ส่วนกรรมการ 33 ท่าน สถาบันขงจื่อในประเทศต่างๆเป็นผู้เสนอชื่อ
- สำนักงานเลขาธิการของสถาบัน จะขึ้นตรงต่อคณะกรรมการของสถาบันขงจื่อ โดยมี Xu Linผู้อำนวยการ Hanban ดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่
- ภาระหน้าที่ของสำนักงานใหญ่สถาบันขงจื่อ
- จัดประชุมคณะกรรมการตามวาระที่กำหนด
- จัดระเบียบสถาบัน แผนการพัฒนาและประมวลผลการดำเนินการ
- พิจารณาอนุมัติการก่อตั้งสถาบันขงจื่อสาขาต่างประเทศ
- พิจารณาอนุมัติโครงการประจำปีและงบประมาณของสถาบันขงจื่อทั่วโลก
- ให้การสนับสนุนหนังสือและอุปกรณ์การสอนแก่สถาบันขงจื่อทั่วโลก
- อบรมอาจารย์และพนักงานตลอดจนคัดเลือกและจัดส่งผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อและอาจารย์ตามความต้องการของสถาบันขงจื่อทั่วโลก
- องค์กรหรือมหาวิทยาลัยที่ขอจัดตั้งสถาบันขงจื่อต้องเป็นนิติบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับการเรียนการสอน
- เมืองหรือพื้นที่ที่องค์กรหรือมหาวิทยาลัยที่ขอจัดตั้งสถาบันขงจื่อมีความต้องการที่จะเรียนภาษาและวัฒนธรรมจีน
- มีความพร้อมทางด้านบุคลากร สถานที่ และอุปกรณ์ตามข้อกำหนดของสถาบันขงจื่อ
- มีเงินทุนที่เพียงพอและแหล่งงบประมาณที่มั่นคง
ทั้งนี้ก่อนยื่นหนังสือขอก่อตั้งสถาบันขงจื่อ องค์กรหรือมหาวิทยาลัยจะต้องแสวงหามหาวิทยาลัยจีนมาเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องลงนามในบันทึกความร่วมมือในการก่อตั้งสถาบันขงจื่อแล้วส่งให้กับ Hanban เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว Hanban จะลงนามกับมหาวิทยาลัยฝ่ายเจ้าภาพ สุดท้ายมหาวิทยาลัยฝ่ายจีนในฐานะตัวแทนจาก Hanban ก็จะลงนามกับมหาวิทยาลัยฝ่ายไทยในหนังสือข้อตกลงความร่วมมือในการจัดตั้งสถาบันขงจื่อ สำนักงานใหญ่ของสถาบันขงจื่อจะเป็นผู้จัดทำป้ายให้แก่สถาบันขงจื่อทุกแห่งทั่วโลก ซึ่งโดยทั่วไปจะทำเป็นภาษาจีนและภาษาอังกฤษ แต่สำหรับป้ายที่ทำให้สถาบันขงจื่อในประเทศไทยจะทำเป็น 3 ภาษา คือ มีภาษาไทย เพิ่มเติมด้วย และจะมีพิธีมอบป้ายให้อย่างเป็นทางการก่อนจัดพิธีเปิดป้ายสถาบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่จัดตั้งสถาบันขงจื่อในประเทศไทย สถาบันขงจื่อในประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยคู่สัญญาในประเทศจีน ได้แก่
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยซีหนาน
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเซียเหมิน
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยครุศาสตร์ยูนนาน
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยาร่วมมือกับมหาวิทยาลัยครุศาสตร์เทียนจิน
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชนชาติกวางซี
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต (สุพรรณบุรี) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกวางซี
- สถาบันขงจื่อ เมืองเบตง ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยฉงชิ่ง
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยครุศาสตร์กวางซี
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียว
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเวินโจว
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่เทียนจิน
- สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล ร่วมมือกับสภาการศึกษานครเทียนจิน
ประธานและรองประธาน จะมาจากอธิการบดีและรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยทั้ง 2 ฝ่าย โดยจะสลับตำแหน่งกันทุกปี โดยมีผู้อำนวยการฝ่ายจีนและฝ่ายไทยมีหน้าที่ดำเนินงานตามแผนงานและนโยบายที่คณะกรรมการสถาบันมอบหมายให้ ซึ่งสถาบันขงจื่อจะต้องดำเนินการตามระเบียบที่ Hanban กำหนดไว้ ดังนี้
- สอนภาษาจีน
- อบรมอาจารย์สอนภาษาจีนและส่งอาจารย์มาสอนภาษาจีน
- จัดการสอบ HSK
- ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่ประเทศจีน
- จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมจีน-ไทย
- Hanban จะสนับสนุนงบประมาณก่อตั้งแห่งละ 150,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา
- Hanban จะสนับสนุนเงินดำเนินงานตามโครงการซึ่งสถาบันขงจื่อเสนอไป
- สถาบันขงจื่อจะต้องมีบัญชีธนาคารและจะต้องใช้เงินตามโครงการที่เสนอต่อ Hanban เท่านั้น โดยจะต้องยื่นแบบคำของบประมาณต่อ Hanban ก่อนวันที่ 15 มกราคม ของทุกปี
สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล
พระพรหมมังคลาจารย์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ประธานมูลนิธิร่มฉัตร ได้มีความคิดริเริ่มในการจัดตั้งสถาบันขงจื่อรูปแบบใหม่ โดยจะเชิญสถาบันการศึกษา หน่วยราชการและองค์กรเอกชนที่มีการเรียนการสอนภาษาจีนอยู่แล้ว (ไม่รวม 24 สถาบันและห้องเรียนเดิม) เข้ามาเป็นสาขา (เครือข่าย) เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน การอบรม และการใช้ภาษาจีนให้มีมาตรฐาน จึงได้ไปพบกับ Dr. Xu Lin ผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่ฮั่นปั้น สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเดือนตุลาคม 2557 และได้เห็นชอบให้จัดตั้ง “สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล” ขึ้น ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยได้มอบหมายให้สภาการศึกษานครเทียนจิน เป็นสถาบันในการทำงานร่วมกัน ซึ่งสภาการศึกษานครเทียนจิน ได้กำหนดให้มหาวิทยาลัยครุศาสตร์เทียนจิน (Tianjin Normal University) เป็นมหาวิทยาลัยเข้ามาปฏิบัติงานร่วมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ในฐานะฝ่ายเลขานุการสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล Dr. Xu Lin ผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่ฮั่นปั้น พระพรหมมังคลาจารย์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ประธานมูลนิธิร่มฉัตร ในฐานะประธานสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล และรองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ลงนามในเอกสารบันทึกความร่วมมือในการจัดตั้งสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2558 และ Dr. Xu Lin ผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่ฮั่นปั้น ได้เดินทางมาถวายป้ายสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลเป็นแห่งที่ 14 ในประเทศไทยให้แก่พระพรหมมังคลาจารย์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2558 ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยครุศาสตร์เทียนจิน ได้แต่งตั้งและมอบหมายให้ Mr. He Bingzheng มารับตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล (ฝ่ายจีน) และ Ms. Xiao Shen รับตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล (ฝ่ายจีน) เมื่อเดือนสิงหาคม 2558 โดยจะทำงานร่วมกับผู้อำนวยการและผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล (ฝ่ายไทย) ซึ่งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์แต่งตั้ง มหาวิทยาลัยครุศาสตร์เทียนจินและมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จะปฏิบัติหน้าที่ใน 2 สถานะคือ
1. ปฏิบัติหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล
2. เป็นสาขาของสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล พระพรหมมังคลาจารย์ ดำรงตำแหน่ง ประธานสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล และอธิการบดีทั้ง 2 มหาวิทยาลัย ดำรงตำแหน่งรองประธานสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล นอกจากนั้น อธิการบดีทั้ง 2 มหาวิทยาลัยจะดำรงตำแหน่งประธานสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลสาขามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ด้วย สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2559 เวลา 09.30 น. ซึ่งคณะกรรมการบริหารฯ ประกอบด้วย
- พระพรหมมังคลาจารย์ ประธาน
- ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ รองประธาน
- รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รองประธาน
- พลเอก พิณภาษณ์ สริวัฒน์ กรรมการ
- พลตำรวจโทหม่อมหลวง พันธ์ศักดิ์ เกษมสันต์ กรรมการ
- รองศาสตราจารย์ ดร.ปราณี สังขะตะวรรธน์ กรรมการ
- รองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช กรรมการ
- รองศาสตราจารย์ ดร.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ กรรมการ
- นายสรรเสริญ เงารังษี กรรมการ
- นายโรจนะ กฤษเจริญ กรรมการ
- นายธนากร เสรีบุรี กรรมการ
- ดร.อกนิษฐ์ คลังแสง กรรมการ
- นายพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล กรรมการและ เลขานุการ
- ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล (ฝ่ายไทย) กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล (ฝ่ายจีน) กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
http://www.dpu.ac.th/msrci/about.php
สรุปโครงการของสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล
จะดำเนินการระหว่าง มกราคม 2559 - ธันวาคม 2559
เสนอต่อ
สถาบันขงจื่อ กองทุนสำนักงานใหญ่
เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของ ฯพณฯ สีจิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนตามโครงการ “One Belt One Road”
ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริม การร่วมมือในการพัฒนาประเทศตามเส้นทางสายไหมทางเศรษฐกิจและเส้นทางสายไหมทางทะเล
แบบได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย และก่อให้เกิดความเข้าใจเชื่อถือซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปสู่มิตรภาพและความร่วมมือในทุกๆ ด้าน
ดังนั้นสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรของประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียนทุกระดับ
และทุกภาคส่วน โดยขอเสนอโครงการดังต่อไปนี้
ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริม การร่วมมือในการพัฒนาประเทศตามเส้นทางสายไหมทางเศรษฐกิจและเส้นทางสายไหมทางทะเล
แบบได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย และก่อให้เกิดความเข้าใจเชื่อถือซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปสู่มิตรภาพและความร่วมมือในทุกๆ ด้าน
ดังนั้นสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรของประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียนทุกระดับ
และทุกภาคส่วน โดยขอเสนอโครงการดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาตำราเรียน
ในข้อเท็จจริงแล้วได้มีการจัดทำตำราเรียนภาษาจีนในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานานกว่า 5 ปีแล้ว แต่เมื่อนำตำราเรียนดังกล่าวมาใช้ในการสอน ปรากฏว่ายังไม่สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยในบางเรื่อง ดังนั้นจึงมีนโยบายที่จะจัดทำตำราเรียนดังกล่าวให้เป็นมาตรฐานเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตร สามารถนำมาใช้ได้ในทุกระดับชั้นและทั่วประเทศไทย ซึ่งมีแนวทางดำเนินการคือ
- นำตำราเรียนภาษาจีนที่มีอยู่แล้วมาพัฒนา
- เชิญผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยทั้ง 2 ประเทศและจากกระทรวงศึกษาธิการเข้ามาร่วมในการจัดทำด้วย
ทั้งนี้ได้กำหนดให้แล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้
2. การส่งเสริมการเรียนการสอนในระดับอาชีวศึกษา
สำนักงาน Hanban และสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลได้มีความเห็นร่วมกันว่าในปัจจุบันนี้ประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรในระดับอาชีวะ ทำให้การพัฒนาประเทศในบางเรื่องไม่สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงจะต้องจัดทำโครงการสนับสนุนการศึกษาด้านอาชีวะให้อย่างกว้างขวาง ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว ได้แก่ การจัดหาทุนให้นักศึกษาอาชีวะจากประเทศไทยไปศึกษา ณ วิทยาลัยอาชีวะในนครเทียนจินมาประมาณ 1 ปีกว่าแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีแนวทางในการดำเนินการคือ
- จัดหาทุนการศึกษาจำนวนมากให้แก่นักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถและสามารถสอบผ่านการวัดผล HSK ได้ในระดับที่กำหนดไว้
- จัดหาทุนให้ครูอาชีวะจากประเทศไทยได้มีโอกาสไปศึกษาเรียนรู้ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อให้ครูอาชีวะได้มีโอกาสเพิ่มพูนด้านความรู้ความสามารถและนำมาถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้แก่นักศึกษาในการนำไปประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษาต่อไป
- ขอให้สำนักงาน Hanban พิจารณาจัดหาครูอาสาสมัครอาชีวะมาสอนในประเทศไทยเป็นแห่งแรกของโลกด้วย
ซึ่งในเรื่องนี้จะสอดคล้องกับคำกล่าวของ Dr. Xu Lin ผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่ Hanban ได้กล่าวไว้เมื่อครั้งเดินทางมาเป็นประธานในพิธีมอบป้ายสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล เมื่อวันพุธที่ 24 มิถุนายน 2558 ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
3. การส่งเสริมการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา
สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล พิจารณาแล้วเห็นว่ามหาวิทยาลัยควรจะต้องเป็นแหล่งในการผลิตครู-อาจารย์ภาษาจีนแก่สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาจารย์สอนภาษาจีน ดังนั้นจึงจะต้องหาแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับมหาวิทยาลัย โดยใช้มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งนอกจากจะต้องพัฒนาตำราเรียนพัฒนาทักษะการพูดให้แข็งแรง จะต้องกำหนดให้ครูอาสาสมัครสามารถสอนเพิ่มเติมในวิชาการล่าม วิชาภาษาจีนภาคบริการและอื่นๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความเจริญทางเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบันซึ่งมีแนวทางในการดำเนินการคือ
- จัดการฝึกอบรมครู-อาจารย์สอนภาษาจีนให้มีความรู้ความสามารถเป็นมาตรฐานเดียวกัน
- จัดหาทุนการศึกษาระยะสั้น-ระยะยาวให้ครู-อาจารย์ได้มีโอกาสไปเรียนรู้และฝึกอบรมการใช้ภาษาจีนที่ถูกต้อง ตลอดจนวัฒนธรรมจีน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
- จัดฝึกอบรมครูอาสาสมัครให้มีความรู้ความสามารถในการสอนเพิ่มเติมในสาขาวิชาอื่นๆ ด้วย เช่น วิชาการล่าม วิชาภาษาจีนภาคบริการ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นผลให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้เมื่อสำเร็จการศึกษาต่อไป
4. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
ตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์จีนไทยได้พัฒนาไปอย่างแข็งแรงและมีเสถียรภาพซึ่งสามารถสรุปไว้ว่าความสำเร็จดังกล่าวเกิดจาก
- ความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน มั่นคงและหนักแน่นยิ่งขึ้น
- ผลประโยชน์ร่วมกันกว้างขวางยิ่งขึ้น
- ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
- สายสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและสังคมเหนียวแน่นยิ่งขึ้น
(คำกล่าวของ ฯพณฯ หนิง ฟู่ขุย เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย)
- ความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน มั่นคงและหนักแน่นยิ่งขึ้น
- ผลประโยชน์ร่วมกันกว้างขวางยิ่งขึ้น
- ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
- สายสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและสังคมเหนียวแน่นยิ่งขึ้น
(คำกล่าวของ ฯพณฯ หนิง ฟู่ขุย เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย)
ซึ่งปัจจุบันนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมากที่สุด คือประมาณ 7,000,000 คนในปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2558) ดังนั้นจึงมีนโยบายที่จะพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของไทยให้มีความรู้ความสามารถในด้านภาษาและวัฒนธรรมจีนให้เป็นมาตรฐานสากล โดยจะมีแนวทางดำเนินการเป็น 2 ระดับ คือ
- ระดับนักศึกษา จะส่งเสริมให้นักศึกษาซึ่งเรียนในสาขาการท่องเที่ยวทั้งในระดับอุดมศึกษาและระดับอาชีวศึกษาได้มีความรู้ความสามารถในการเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีของทั้ง 2 ประเทศอย่างทัดเทียมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การใช้ภาษาจีนอย่างถูกต้องและเหมาะสม และความเข้าใจในความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวจีนในแต่ละมณฑลซึ่งแตกต่างกัน
- ระดับมัคคุเทศก์ จะส่งเสริมให้มัคคุเทศก์ได้เข้าอบรมในหลักสูตรที่เหมาะสมเพื่อความเข้าใจในด้านภาษาและวัฒนธรรมจีนให้มากขึ้น ตลอดจนความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวจีน
5. การส่งเสริมการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
นอกจากการจะพัฒนาด้านตำราเรียนตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลจะมีโครงการพัฒนาครูผู้สอนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีแนวทางในการดำเนินการ คือ
- จัดหาทุนฝึกอบรมเทคนิคการสอน ความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน ทั้งในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน
- ขอรับการสนับสนุนครูอาสาสมัครชาวจีนที่มีคุณภาพโดยสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลขอเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดฝึกอบรมครูอาสาสมัครเพื่อให้รู้ภาษาและวัฒนธรรมไทยมากกว่าที่ผ่านมา
- จัดหาทุนการศึกษาให้กับครูและนักเรียนที่มีผลงานดีสำหรับศึกษาต่อในประเทศไทยหรือสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจสำหรับผู้สอนและผู้เรียนภาษาจีน
6. การจัดฝึกอบรมครูอาสาสมัครชาวจีน
สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล พิจารณาเห็นครูอาสาสมัครบางคนยังขาดประสบการณ์ในการสอนและความเข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณีของคนไทย ซึ่งในแต่ละภาคก็มีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงขอเสนอเป็นสถาบันรับผิดชอบในการจัดฝึกอบรมครูอาสาสมัครชาวจีนทั้งหมดก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงาน ซึ่งน่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนเพื่อให้สามารถเข้าใจและใช้ภาษาไทยในการสอนภาษาจีน ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทยซึ่งแตกต่างกันบางประการในแต่ละภูมิภาค ทั้งนี้เนื่องจากนักเรียนบางคนไม่สามารถพูดภาษาจีนได้ในระยะแรก จึงทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างล่าช้า
7. การจัดฝึกอบรมภาษาจีนแก่ข้าราชการต่างๆ
ด้วยในปัจจุบันนี้การใช้ภาษาจีนเป็นที่แพร่หลายและบางส่วนราชการก็ได้มีการใช้ภาษาจีนในการปฏิบัติงาน ซึ่งได้มีการขอให้พระพรหมมังคลาจารย์จัดหาครูไปสอนภาษาจีนให้ เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรมการแพทย์ทหารบก เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้การสอนภาษาและวัฒนธรรมจีนแก่ข้าราชการเป็นไปด้วยความต่อเนื่อง จึงมีแนวทางในการดำเนินการคือ
- จัดทำหลักสูตรเฉพาะเพื่อให้บริการแก่ส่วนราชการต่างๆ อันจะทำให้การประสานงานระหว่าง 2 ประเทศเป็นไปด้วยความสะดวกเรียบร้อย
- จัดหาทุนการฝึกอบรมให้แก่ข้าราชการที่ผ่านการทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาจีนในระดับหนึ่ง ได้มีโอกาสเดินทางไปเรียนรู้และฝึกอบรมการใช้ภาษาจีนและวัฒนธรรมจีน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
8. การให้บริการแก่สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลสาขา
ปัจจุบันนี้ได้มีสถาบันการศึกษาและส่วนราชการต่างๆ แสดงความจำนงจะขอเข้าร่วมเป็นสาขาของสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล ดังนั้นสิ่งที่จะต้องทำเป็นโครงการเร่งด่วนคือ
- จัดประชุมสถาบันการศึกษาและส่วนราชการดังกล่าวเพื่อแจ้งให้ทราบถึงนโยบาย
- ชี้แจงแนวทางของสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล จัดทำแผนงานเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณทั้งในด้านการเรียนการสอน การฝึกอบรม และการขอรับการสนับสนุนครูอาสาสมัครต่อไป
9. การขยายสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลสู่อาเซียน
ตามที่ขณะนี้ได้มีมหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์น ฟิลิปปินส์ ได้แสดงเจตจำนงชัดเจนว่าจะเข้าร่วมเป็นสาขา (เครือข่าย) ของสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลแล้วนั้น เพื่อการขยายการสอนภาษาและวัฒนธรรมจีนไปสู่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่ยังไม่มีสถาบันขงจื่อ ซึ่งจะสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการในการพัฒนาสถาบันขงจื่อปี 2016-2020 ที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้มีการศึกษาภาษาจีนในมหาวิทยาลัยทั่วโลก จึงมีแนวทางในการดำเนินงานคือ
- ประสานงานและเดินทางไปพบกับสถาบันการศึกษาในประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และสหภาพเมียนมาร์ เพื่อชี้แจงให้ทราบถึงนโยบายแนวทางดำเนินงานของสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล
- ขอให้สถาบันการศึกษาในประเทศดังกล่าวจัดทำแผนงานเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณทั้งในด้านการเรียนการสอน การฝึกอบรมและการขอรับการสนับสนุน ครูอาสาสมัครต่อไป
10. การเป็นสถาบันจัดการสอบ HSK
สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล มีความประสงค์จะขอเป็นผู้แทนในการจัดสอบ HSK ด้วยอีกแห่งหนึ่ง โดยพิจารณาเห็นว่าอาจารย์ นักเรียน และผู้ประสงค์จะขอรับทุนไปศึกษาต่อที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ควรจะต้องผ่านการทดสอบ HSK ในระดับที่เหมาะสม ดังนั้นหากสถาบัน Hanban พิจารณาเห็นชอบในแนวคิดดังกล่าวจะทำให้การส่งเสริมการเรียนภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
11. โครงการจัดแข่งขันภาษาจีนเพชรยอดมงกุฎ
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียนได้เป็นที่แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว จึงได้กำหนดจัดเวทีให้ผู้สนใจการเรียนภาษาจีนในทุกระดับได้เข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งได้จัดต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลา 11 ปีแล้ว ในแต่ละปีจะมีนักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันเป็นจำนวนมากขึ้นตลอดมาโดยในครั้งที่ 11 มีผู้เข้าแข่งขันเกือบ 5,000 คน กิจกรรมนี้นอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันความสามารถในการใช้ภาษาจีนแล้ว ยังจะทำให้สามารถเป็นสะพานในการติดต่อกับนักเรียนทุกคนได้ตลอดไปจากการบันทึกชื่อและสถานที่อยู่ของผู้เข้าแข่งขันทุกคน ซึ่งได้กำหนดแนวทางดำเนินการไว้ ดังนี้
- จัดการแข่งขันภาษาจีนเพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 12 (นานาชาติ) ในเดือนกันยายน 2559
- ขอรับพระราชทานถ้วยรางวัลจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารและจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
- จัดหารางวัลมอบให้แก่ผู้ชนะการแข่งขัน
- จัดหาทุนการศึกษาในสาธารณรัฐประชาชนจีนแก่ผู้ชนะการแข่งขัน
12. โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
เพื่อให้การส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศไทยได้อย่างแพร่หลายและรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงเห็นควรจัดให้มีกิจกรรมที่กระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม องค์ความรู้ของวัดเส้าหลิน และวัดม้าขาว ในเรื่องกังฟู และศิลปะการป้องกันตัวอื่นๆ กับศิลปะการป้องกันตัวของประเทศไทย เป็นต้น จึงได้กำหนดแนวทางในการดำเนินการดังนี้
- ขอรับทุนการเดินทางจากสำนักงาน Hanban สำหรับคณะนักแสดงศิลปวัฒนธรรมจากประเทศไทยไปแสดงในเทศกาลสำคัญของสาธารณรัฐประชาชนจีน
- ขอรับการสนับสนุนคณะนักแสดงจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมาแสดงในประเทศไทยซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นการตอบสนองนโยบายของ Dr. Xu Lin ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานฮั่นปั้น ซึ่งได้กล่าวไว้ในพิธีปิดการประชุมสถาบันขงจื่อโลก ครั้งที่ 10 เมื่อวันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม 2558 ณ ศูนย์การประชุม Expo นครเซียงไฮ้
13. การจัดตั้งสมาคมศิษย์เก่าสถาบันขงจื่อ
สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลจะดำเนินรวบรวมรายชื่อผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาจากสถาบันขงจื่อสำนักงานใหญ่ ซึ่งในขณะนี้ได้มีรายชื่อดังกล่าวอยู่จำนวนหนึ่งแล้ว โดยจะจัดให้มีการประชุมในระหว่างสมาชิกเพื่อขอรับความเห็นจากการที่ได้รับทุนการศึกษาและนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ตลอดจนข้อเสนอในการปรับปรุงทุนการศึกษาให้ก้าวหน้าต่อไป ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นการตอบสนองนโยบายของ Dr. Xu Lin ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานฮั่นปั้น ซึ่งได้กล่าวไว้ในพิธีปิดการประชุมสถาบันขงจื่อโลก ครั้งที่ 10 เมื่อวันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม 2558 ณ ศูนย์การประชุม Expo นครเซียงไฮ้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น