สำนักงานใหญ่ Hanban ปักกิ่ง
สำนักงานใหญ่ Hanban ปักกิ่ง เกิดก่อนแล้วจึงตั้งสถาบันขงจื้อตามประเทศต่างๆครับ
http://www.dpu.ac.th/msrci/about.php
ระเบียบการขอจัดตั้งสถาบันขงจื่อ
http://www.dpu.ac.th/msrci/about.php
สถาบันขงจื่อในประเทศไทย
เพื่อสนองความต้องการของประชาชนทั่วโลกในการเรียนภาษาจีนและวัฒนธรรมจีน สำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (Office of Chinese Language Council International หรือ Hanban : ฮั่นปั้น) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลจีนที่รับผิดชอบในการสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศต่างๆ จึงได้ก่อตั้งสถาบันขงจื่อขึ้นทั่วโลกและสถาบันขงจื่อจะเป็นองค์กรที่ดำเนินการเรียนการสอนภาษาจีนโดยไม่แสวงหาผลกำไร มีสำนักงานใหญ่ของสถาบันขงจื่อตั้งอยู่ ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
หลังจากปี พ.ศ. 2548 สถาบันขงจื่อและห้องเรียนขงจื่อได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศต่างๆ โดยสถาบันขงจื่อจะจัดตั้งอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา ส่วนห้องเรียนขงจื่อจะจัดตั้งอยู่ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาซึ่ง Hanban จะจัดส่งอาจารย์สอนภาษาจีนและอาจารย์อาสาสมัครชาวจีนไปสอนในสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมศึกษา ปัจจุบันมีสถาบันขงจื่อจาก 134 ประเทศทั่วโลก แยกเป็นสถาบันขงจื่อ 500 แห่งและห้องเรียนขงจื่อ 1012 แห่ง
สาเหตุที่ตั้งชื่อว่าสถาบันขงจื่อ เนื่องจาก “ขงจื่อ” เป็นทั้งนักการศึกษา นักคิด และนักปรัชญา ที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์จีน ความคิดและปรัชญาของท่านมีความสำคัญมากและมีอิทธิพลอยู่ทั่วโลก ดังนั้นการตั้งชื่อสถาบันว่าขงจื่อนั้นเป็นการแสดงถึงวัฒนธรรมและภาษาจีนที่มีความล้ำลึกและได้สืบทอดต่อกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน
องค์กรบริหารงานสถาบันขงจื่อในจีน ประกอบด้วย- สำนักงานใหญ่ของสถาบันขงจื่อ มีสถานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่แส
- วงหาผลกำไร
- คณะกรรมการสถาบันขงจื่อ โดยรัฐบาลจีนเป็นผู้แต่งตั้ง ประธาน รองประธานและกรรมการบริหาร ส่วนกรรมการ 33 ท่าน สถาบันขงจื่อในประเทศต่างๆเป็นผู้เสนอชื่อ
- สำนักงานเลขาธิการของสถาบัน จะขึ้นตรงต่อคณะกรรมการของสถาบันขงจื่อ โดยมี Xu Linผู้อำนวยการ Hanban ดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่
- ภาระหน้าที่ของสำนักงานใหญ่สถาบันขงจื่อ
- จัดประชุมคณะกรรมการตามวาระที่กำหนด
- จัดระเบียบสถาบัน แผนการพัฒนาและประมวลผลการดำเนินการ
- พิจารณาอนุมัติการก่อตั้งสถาบันขงจื่อสาขาต่างประเทศ
- พิจารณาอนุมัติโครงการประจำปีและงบประมาณของสถาบันขงจื่อทั่วโลก
- ให้การสนับสนุนหนังสือและอุปกรณ์การสอนแก่สถาบันขงจื่อทั่วโลก
- อบรมอาจารย์และพนักงานตลอดจนคัดเลือกและจัดส่งผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อและอาจารย์ตามความต้องการของสถาบันขงจื่อทั่วโลก
- องค์กรหรือมหาวิทยาลัยที่ขอจัดตั้งสถาบันขงจื่อต้องเป็นนิติบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับการเรียนการสอน
- เมืองหรือพื้นที่ที่องค์กรหรือมหาวิทยาลัยที่ขอจัดตั้งสถาบันขงจื่อมีความต้องการที่จะเรียนภาษาและวัฒนธรรมจีน
- มีความพร้อมทางด้านบุคลากร สถานที่ และอุปกรณ์ตามข้อกำหนดของสถาบันขงจื่อ
- มีเงินทุนที่เพียงพอและแหล่งงบประมาณที่มั่นคง
ทั้งนี้ก่อนยื่นหนังสือขอก่อตั้งสถาบันขงจื่อ องค์กรหรือมหาวิทยาลัยจะต้องแสวงหามหาวิทยาลัยจีนมาเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องลงนามในบันทึกความร่วมมือในการก่อตั้งสถาบันขงจื่อแล้วส่งให้กับ Hanban เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว Hanban จะลงนามกับมหาวิทยาลัยฝ่ายเจ้าภาพ สุดท้ายมหาวิทยาลัยฝ่ายจีนในฐานะตัวแทนจาก Hanban ก็จะลงนามกับมหาวิทยาลัยฝ่ายไทยในหนังสือข้อตกลงความร่วมมือในการจัดตั้งสถาบันขงจื่อ สำนักงานใหญ่ของสถาบันขงจื่อจะเป็นผู้จัดทำป้ายให้แก่สถาบันขงจื่อทุกแห่งทั่วโลก ซึ่งโดยทั่วไปจะทำเป็นภาษาจีนและภาษาอังกฤษ แต่สำหรับป้ายที่ทำให้สถาบันขงจื่อในประเทศไทยจะทำเป็น 3 ภาษา คือ มีภาษาไทย เพิ่มเติมด้วย และจะมีพิธีมอบป้ายให้อย่างเป็นทางการก่อนจัดพิธีเปิดป้ายสถาบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่จัดตั้งสถาบันขงจื่อในประเทศไทย สถาบันขงจื่อในประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยคู่สัญญาในประเทศจีน ได้แก่
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยซีหนาน https://confucius.kku.ac.th/home/th/ https://www.facebook.com/confucius.kku
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเซียเหมิน http://sirindhorn.mfu.ac.th/ http://www.mfu.ac.th/life-on-campus/lifeoncampus-servicesso/mfu-siringhorn0.html https://www.facebook.com/mfuchinesecenter/
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยครุศาสตร์ยูนนาน http://www.ci.cmu.ac.th/tha/index.php https://www.facebook.com/language.institute.cmu/posts/10150883318793631
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยครุศาสตร์เทียนจิน https://www.facebook.com/สถาบันขงจื๊อ-มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา-400616586809734/
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ https://www.psu.ac.th/th/node/614 https://www.facebook.com/CIPhuket/posts/246971489127079
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชนชาติกวาง ซี https://www.facebook.com/cimsupublic/
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต (สุพรรณบุรี) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกวางซี https://www.facebook.com/pages/สถาบันขงจื่อ-มรภสวนดุสิต-สุพรรณบุรี/168362663295993
- สถาบันขงจื่อ เมืองเบตง ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยฉงชิ่ง https://www.facebook.com/betongkongzi/
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยครุศาสตร์กวางซี https://www.psu.ac.th/th/node/132 https://www.facebook.com/LiberalArts.PSU/posts/1358575984206798
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง https://www.arts.chula.ac.th/confucius/home.htm https://www.facebook.com/confucius.chula/ https://www.facebook.com/朱大孔院สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-240140916040659/
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียว http://confucius.human.ku.ac.th/ https://www.facebook.com/ConfuciusKU/
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเวินโจว http://confucius.buu.ac.th/th/ https://www.facebook.com/Buuconfucius/
- สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่เทียนจิน
- สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล ร่วมมือกับสภาการศึกษานครเทียนจิน http://www.dpu.ac.th/msrci/founder.php
ประธานและรองประธาน จะมาจากอธิการบดีและรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยทั้ง 2 ฝ่าย โดยจะสลับตำแหน่งกันทุกปี โดยมีผู้อำนวยการฝ่ายจีนและฝ่ายไทยมีหน้าที่ดำเนินงานตามแผนงานและนโยบายที่คณะกรรมการสถาบันมอบหมายให้ ซึ่งสถาบันขงจื่อจะต้องดำเนินการตามระเบียบที่ Hanban กำหนดไว้ ดังนี้
- สอนภาษาจีน
- อบรมอาจารย์สอนภาษาจีนและส่งอาจารย์มาสอนภาษาจีน
- จัดการสอบ HSK
- ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่ประเทศจีน
- จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมจีน-ไทย
- Hanban จะสนับสนุนงบประมาณก่อตั้งแห่งละ 150,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา
- Hanban จะสนับสนุนเงินดำเนินงานตามโครงการซึ่งสถาบันขงจื่อเสนอไป
- สถาบันขงจื่อจะต้องมีบัญชีธนาคารและจะต้องใช้เงินตามโครงการที่เสนอต่อ Hanban เท่านั้น โดยจะต้องยื่นแบบคำของบประมาณต่อ Hanban ก่อนวันที่ 15 มกราคม ของทุกปี
สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล
พระพรหมมังคลาจารย์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ประธานมูลนิธิร่มฉัตร ได้มีความคิดริเริ่มในการจัดตั้งสถาบันขงจื่อรูปแบบใหม่ โดยจะเชิญสถาบันการศึกษา หน่วยราชการและองค์กรเอกชนที่มีการเรียนการสอนภาษาจีนอยู่แล้ว (ไม่รวม 24 สถาบันและห้องเรียนเดิม) เข้ามาเป็นสาขา (เครือข่าย) เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน การอบรม และการใช้ภาษาจีนให้มีมาตรฐาน จึงได้ไปพบกับ Dr. Xu Lin ผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่ฮั่นปั้น สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเดือนตุลาคม 2557 และได้เห็นชอบให้จัดตั้ง “สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล” ขึ้น ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยได้มอบหมายให้สภาการศึกษานครเทียนจิน เป็นสถาบันในการทำงานร่วมกัน ซึ่งสภาการศึกษานครเทียนจิน ได้กำหนดให้มหาวิทยาลัยครุศาสตร์เทียนจิน (Tianjin Normal University) เป็นมหาวิทยาลัยเข้ามาปฏิบัติงานร่วมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ในฐานะฝ่ายเลขานุการสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล Dr. Xu Lin ผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่ฮั่นปั้น พระพรหมมังคลาจารย์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ประธานมูลนิธิร่มฉัตร ในฐานะประธานสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล และรองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ลงนามในเอกสารบันทึกความร่วมมือในการจัดตั้งสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2558 และ Dr. Xu Lin ผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่ฮั่นปั้น ได้เดินทางมาถวายป้ายสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลเป็นแห่งที่ 14 ในประเทศไทยให้แก่พระพรหมมังคลาจารย์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2558 ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยครุศาสตร์เทียนจิน ได้แต่งตั้งและมอบหมายให้ Mr. He Bingzheng มารับตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล (ฝ่ายจีน) และ Ms. Xiao Shen รับตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล (ฝ่ายจีน) เมื่อเดือนสิงหาคม 2558 โดยจะทำงานร่วมกับผู้อำนวยการและผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล (ฝ่ายไทย) ซึ่งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์แต่งตั้ง มหาวิทยาลัยครุศาสตร์เทียนจินและมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จะปฏิบัติหน้าที่ใน 2 สถานะคือ
1. ปฏิบัติหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล
2. เป็นสาขาของสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล พระพรหมมังคลาจารย์ ดำรงตำแหน่ง ประธานสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล และอธิการบดีทั้ง 2 มหาวิทยาลัย ดำรงตำแหน่งรองประธานสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล นอกจากนั้น อธิการบดีทั้ง 2 มหาวิทยาลัยจะดำรงตำแหน่งประธานสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลสาขามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ด้วย สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2559 เวลา 09.30 น. ซึ่งคณะกรรมการบริหารฯ ประกอบด้วย
- พระพรหมมังคลาจารย์ ประธาน
- ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ รองประธาน
- รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รองประธาน
- พลเอก พิณภาษณ์ สริวัฒน์ กรรมการ
- พลตำรวจโทหม่อมหลวง พันธ์ศักดิ์ เกษมสันต์ กรรมการ
- รองศาสตราจารย์ ดร.ปราณี สังขะตะวรรธน์ กรรมการ
- รองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช กรรมการ
- รองศาสตราจารย์ ดร.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ กรรมการ
- นายสรรเสริญ เงารังษี กรรมการ
- นายโรจนะ กฤษเจริญ กรรมการ
- นายธนากร เสรีบุรี กรรมการ
- ดร.อกนิษฐ์ คลังแสง กรรมการ
- นายพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล กรรมการและ เลขานุการ
- ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล (ฝ่ายไทย) กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล (ฝ่ายจีน) กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น